13 กันยายน 2555

ดนตรีและหน้าพาทย์ที่ใช้

ดนตรีประกอบการแสดงโขน


วงดนตรีที่นำมาบรรเลงประกอบการแสดงโขน คือ วงปี่พาทย์ซึ่งประกอบด้วย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า เครื่องตี และเครื่องประกอบจังหวะวงปี่พาทย์ที่นำมาบรรเลงเรียกว่า “ วงปี่พาทย์ไม้แข็งซึ่งมี 3 ขนาด คือ วงปี่พาทย์เครื่องห้า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ และ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เลือกใช้ตามความเหมาะสมและโอกาสที่แสดง

เครื่องดนตรีประกอบจังหวะที่มีความสำคัญในการแสดงโขนที่ใช้ในกรณีพิเศษ คือ กรับพวง และโกร่ง
  • กรับพวง ใช้ตีประกอบการขับร้องร่ายของผู้ขับร้อง
  • โกร่ง ใช้ตีประกอบจังกวะเพลงกราวนอก -กราวใน เพื่อต้องการจังหวะเร่งเร้า และอึกทึกครึกโครม ตอนยกทัพฝ่ายพลับพลาและลงกา
20.gif
เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยาอาการของโขน
  • เพลงเข้าม่าน ประกอบการเดินเข้าฉากในระยะใกล้ๆ ของหุ่นตัวเอก
  • เพลงเสมอประกอบการไปมาในระยะใกล้ๆ
  • เพลงเชิด ประกอบการไป มาในระยะไกลๆและใช้ในการต่อสู้
  • เพลงตระนิมิตร ประกอบการแปลงกายของตัวหุ่นที่เป็นตัวเอก
  • เพลงชุบ ประกอบการเดินของนางกำนัล เช่น เมื่อนางยี่สูนใช้นางกำนัล ให้ไปตามพราหมณ์ปี่พาทย์ก็จะทำเพลงชุบ
  • เพลงโลม ประกอบการโลมเล้าเกี้ยวพาระหว่างตัวหุ่นที่เป็นตัวเอกมักต่อด้วยเพลงตระนอน
  • เพลงตระนอน ใช้สำหรับหุ่นตัวเอกเมื่อจะเข้านอนโดยมาบรรเลงต่อจากเพลงโลม
  • เพลงโอด ประกอบการเศร้าโศกเสียใจ
  • เพลงโล้ ประกอบการเดินทางทางน้ำ เช่นพระอภัยมณีโดยสารเรือสำเภาหรือเกาะ หลังเงือกว่ายน้ำหนีผีเสื้อ
  • เชิดฉิ่ง ประกอบการเดินทาง การเหาะ เช่นเบญจกายเหาะมายังเขาเหมติรันเพื่อแปลงเป็น สีดาลอยน้ำไปลวงพระราม หรือการติดตาม เช่นพระลอตามไก่ รามสูรตามนางเมขลา
  • เชิดกลอง บรรเลงต่อจากเพลงเชิดฉิ่ง
  • เพลงรัวต่างๆ ประกอบการแผลงอิทธิฤทธิ์หรือแปลงตัวอย่างรวบรัด
  • เพลงกราวนอก ประกอบการยกทัพตรวจพลของกระบวนทัพฝ่ายมนุษย์
  • เพลงกราวใน ประกอบการยกทัพตรวจพลของกระบวนทัพฝ่ายยักษ์

           20.gif

ลักษณะบทโขน

ลักษณะบทโขน ประกอบด้วย
  • บทร้อง ซึ่งบรรจุเพลงไว้ตามอารมณ์ของเรื่องบทร้องแต่งเป็นกลอนบทละครเป็นส่วนใหญ่ อาจมีคำประพันธ์ชนิดอื่นบ้างแต่ไม่นิยมบทร้องนี้จะมีเฉพาะโขนโรงในและโขนฉาก เท่านั้น

เรื่องที่ใช้แสดงโขน

เรื่องที่ใช้แสดงโขน คือ เรื่องรามเกียรติ์มีบางสมัยที่นำเอาวรรณกรรมเรื่องอื่นมาแสดงโขน แต่ไม่ได้รับความนิยมมีข้อถามชวนคิดว่า ทำไมโขนจึงแสดงแต่เรื่องรามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียว น่าจะเป็นด้วยสาเหตุเพราะโขนเป็นนาฏกรรมที่ผสมละครในและเนื่องจากละครในใช้เรื่องแสดงเพียง เรื่องซึ่งเรื่องรามเกียรติ์เป็นบทละครหนึ่งในสามเรื่อง อีกประการหนึ่งการแสดงโขนต้องอาศัยการรบกันเป็นหลักใหญ่ ฉะนั้นเรื่องที่เหมาะสมสำหรับนำมาแสดงคงไม่มีเรื่องใดในสามเรื่องนี้ที่จะเหมาะสมเท่าเรื่อง “รามเกียรติ์

การแต่งกายของผู้แสดงโขน

การแต่งกายของผู้แสดงโขน แบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายมนุษย์ เทวดา (พระ - นาง) ฝ่ายยักษ์ และฝ่ายลิง



ตัวละครในการแสดงโขน


ตัวละครในการแสดงโขนมี 4 ประเภท คือ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ และตัวลิง

6 กันยายน 2555

ประเภทของโขน


       การแสดงโขนในขั้นแรกน่าจะแสดงกลางสนามกว้าง ๆ เหมือนกับการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ ต่อมาการแสดงก็เจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการปลูกโรงไว้ใช้แสดง จนมีฉากประกอบตามท้องเรื่อง จากนั้นโขนก็มีการวิวัฒนาการดัดแปลงการเล่นด้วยวิธีการต่าง ๆ เราจึงเรียกแยกประเภทของโขนตามลักษณะการแสดงนั้นๆ 

ความหมายของโขน



        โขน เป็นศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งของไทย มีประวัติที่เก่าแก่ยาวนานมาก เชื่อว่ามีความเก่าแก่อย่างน้อยย้อนไปถึงสมัยอยุธยามีการสันนิษฐานว่าเป็นการแสดงที่พัฒนามาจากการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ กระบี่กระบอง และการแสดงหนังใหญ่ ดังนั้นการแสดงโขนจึงเป็นการรวมศิลปะการแสดงหลายชนิดเข้าด้วยกัน เป็นการแสดงที่อาศัยท่าเต้นเป็นการแสดงออกทางอารมณ์เป็นสำคัญ ตัวละครมีทั้งแบบสวมมงกุฎบนศีรษะ และสวมหน้ากาก โดยการแสดงเป็นเรื่องราว มีทั้งบทเจรจา และบทร้อง สำหรับเนื้อเรื่องที่นำมาแสดงโขนนั้นเดิมมีทั้งเรื่องอุณรุท และรามเกียรติ์ แต่ในปัจจุบันนิยมเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น

5 กันยายน 2555

ประวัติโขน

คณะโขนละครในสมัยโบราณ

        สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ว่า "การแสดงโขนเชื่อว่ามีมาแต่โบราณประมาณกันว่าไทยมีการแสดงโขนมาก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๖" ทั้งนี้ได้อาศัยหลักฐานจากการสันนิษฐานลายแกะสลักเรื่อง"รามายณะ" จากแหล่งโบราณคดีหลายแหล่ง และจากตำนานการแสดงโขนในกฎมณเฑียรบาล โขนแต่เดิมจึงมีเฉพาะโขนหลวงประจำราชสำนัก ผู้ที่จะฝึกหัดโขนต้องเป็นผู้มีบรรดาศักดิคนธรรมดาสามัญจะฝึกหัดโขนไม่ได้จึงกลายเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์