13 กันยายน 2555

เรื่องที่ใช้แสดงโขน

เรื่องที่ใช้แสดงโขน คือ เรื่องรามเกียรติ์มีบางสมัยที่นำเอาวรรณกรรมเรื่องอื่นมาแสดงโขน แต่ไม่ได้รับความนิยมมีข้อถามชวนคิดว่า ทำไมโขนจึงแสดงแต่เรื่องรามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียว น่าจะเป็นด้วยสาเหตุเพราะโขนเป็นนาฏกรรมที่ผสมละครในและเนื่องจากละครในใช้เรื่องแสดงเพียง เรื่องซึ่งเรื่องรามเกียรติ์เป็นบทละครหนึ่งในสามเรื่อง อีกประการหนึ่งการแสดงโขนต้องอาศัยการรบกันเป็นหลักใหญ่ ฉะนั้นเรื่องที่เหมาะสมสำหรับนำมาแสดงคงไม่มีเรื่องใดในสามเรื่องนี้ที่จะเหมาะสมเท่าเรื่อง “รามเกียรติ์



เรื่องรามเกียรติ์มีหลายสำนวน คือทั้งไทย ชวา อินเดียและโดยเฉพาะชาวอินเดีย มีคติในเรื่องความเคารพนับถือกันมาแต่สมัยโบราณหลายพันปีเชื่อว่าหากใครอ่านหรือได้ฟังเรื่องรามายณะ ก็สามารถล้างบาปได้ประสงค์สิ่งใดก็ได้ดังปรารถนา มีอายุยืน และหากตายลงก็ไปอยู่ ในพรหมโลก

บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา
1. รามเกียรติ์คำฉันท์ รามเกียรติ์สำนวนนี้มีกล่าวไว้ในหนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดีในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชเข้าใจว่า พระโหราธิบดีคงจะหยิบยกมาจากคำพากย์ของเก่าที่แต่งไว้สำหรับเล่นโขนหรือเล่นหนังซึ่งแต่งไว้เป็นเรื่องราวแต่ได้สูญหายไปแล้วคงเหลือ ที่นำมาเป็นตัวอย่างในหนังสือจินดามณี 3 - 4 บทเท่านั้น
2. รามเกียรติ์คำพากย์ รามเกียรติ์สำนวนนี้หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากรได้แบ่งตีพิมพ์ไว้เป็นภาค โดยมีเนื้อเรื่องติดต่อกันไปตั้งแต่ภาค ตอน  สีดาหาย” ไปจนถึงภาค ตอน  กุมภกรรณล้ม เข้าใจว่าคำพากย์เหล่านี้แต่เดิมใช้เล่นหนังต่อมาภายหลังได้มีผู้นำมาใช้เล่นโขนด้วย
3. รามเกียรติ์บทละครครั้งกรุงเก่า สำนวนนี้กล่าวความตั้งแต่ตอน  พระรามประชุมพล ” จนถึง  องคตสื่อสาร ” บทละครนี้ไม่เคยตีพิมพ์ออกเผยแพร่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับรามเกียรติ์บทละครในรัชกาลที่ จะเห็นว่ามีเนื้อความไม่ตรงกันในบางแห่งบางตอน และถ้อยคำในบทละครก็ดูไม่เหมาะสมจึงเข้าใจว่าน่าจะเป็นบทละครรามเกียรติ์ฉบับเชลยศักดิ์ที่เจ้าของละครคนใดคนหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาคัดลอกไว้


บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี รามเกียรติ์สำนวนนี้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชนิพนธ์ไว้เพียง ตอนโดยทรง พระราชนิพนธ์ไม่เรียงตามลำดับเรื่อง คือ ตอนพระมงกุฎหนุมานเกี้ยวนางวานรินจนถึงท้าว มาลี วราชเสด็จมาท้าวมาลีวราชว่าความจนถึงทศกัณฐ์เข้าเมือง และตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรดและพระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัทจนถึงหนุมานผูกผมนางมณโฑกับทศกัณฐ์




บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
1. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ในสมัยรัชกาลที่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงมีพระราชประสงค์จะรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ที่กระจัดกระจายให้รวมเป็นเรื่องเดียวกันจึงมีพระบรมราชโองการให้ประชุมบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ มีเรื่องราวยืดยาวติดต่อกันไปนับเป็นวรรณคดีไทยเรื่องเดียวที่ยาวที่สุดในวรรณกรรมไทย เพราะต้องเขียนในสมุดไทยถึง 117 เล่มสมุดไทย
2. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ทรงเห็นว่าบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ เยิ่นเย้อเกินไปไม่เหมาะสำหรับนำมาเล่นโขนพระองค์จึงทรงคัดเลือกเอาเรื่องรามเกียรติ์บางตอนคือตั้งแต่หนุมานถวายแหวนไปจนถึงทศกัณฐ์ล้มมาแต่งขึ้นใหม่สำหรับเล่นโขนหลวงเป็นหนังสือ 36 เล่มสมุดไทย
3. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีกสำนวนหนึ่งคือ ตอน  พระรามเดินดง ” เป็นหนังสือ เล่มสมุดไทย และทรงพระราชนิพนธ์แปลงบทละครเบิกโรงเรื่อง  นารายณ์ปราบนนทุก ” กับเรื่อง  พระรามเข้าสวนพระพิราพ” ขึ้นอีก ตอน
4. บทร้อง และบทพากย์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ทรงค้นคว้าศึกษาที่มาของเรื่องรามเกียรติ์ จากคัมภีร์รามายณะของฤาษีวาลมิกิแล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ  บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ ” ขึ้นและได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง และบทพากย์สำหรับเล่นโขนขึ้นอีก ชุด คือ ชุดสีดาหายชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ
บทพระราชนิพนธ์เหล่านี้ทรงดำเนินเรื่องตามคัมภีร์รามายณะของฤาษีวาลมิกิโดยได้ทรงชี้แจงว่า “ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ที่รวมอยู่ในเล่มนี้เป็นบทที่ข้าพเจ้าได้แต่งขึ้นเป็นครั้งคราวสำหรับเล่นโขนมิได้ตั้งใจที่จะให้เป็นหนังสือกวีนิพนธ์สำหรับอ่านเพราะๆหรือดำเนินเรื่องราวติดต่อกันบทเหล่านี้ได้แต่งขึ้นสำหรับความสะดวกในการเล่นโขนโดยแท้จึงมีทั้งคำกลอนอันเป็นบทร้อง ทั้งบทพากย์และเจรจาอย่างโขนระคนกันอยู่ตามแต่จะเหมาะแก่การเล่นออกโรงจริง… ”

บทโขนของกรมศิลปากร หลังสงครามโลกครั้งที่ กรมศิลปากรได้ทำการรื้อฟื้นปรับปรุงนาฏศิลป์ และดุริยางคศิลป์ของไทยขึ้นมาใหม่โดยในครั้งแรกได้นำบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ และรัชกาลที่ มาปรับปรุงเพื่อแสดงโขนออกแสดงให้ประชาชนชม ต่อมากรมศิลปากรได้ปรับปรุงบทโขนชุด หนุมานอาสาขึ้นมาใหม่ซึ่งดำเนินเรื่องตามพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ และรัชกาลที่ 2โดย เรียบเรียงให้มีทั้งบทขับร้องตามแบบละครในและมีบทพากย์บทเจรจาตามแบบแผนการแสดง โขนแต่โบราณ
ขนบในการแสดงโขน ไม่นิยมให้จบลงด้วยการพ่ายแพ้ของฝ่ายพระรามถ้ามีเรื่องพระลักษณ์ต้องอาวุธสลบ ต้องแสดงต่อไปโดยแก้ไขให้ฟื้น จึงเลิกแสดงได้แต่ตัวละครฝ่ายยักษ์อาจตายตอนจบได้ไม่เสียหายอะไร นอกจากทศกัณฐ์มักไม่นิยมแสดงตอนทศกัณฐ์ล้ม เพราะเชื่อกันว่าจะเกิดภัยพิบัติแก่บ้านเมือง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น