13 กันยายน 2555

ดนตรีและหน้าพาทย์ที่ใช้

ดนตรีประกอบการแสดงโขน


วงดนตรีที่นำมาบรรเลงประกอบการแสดงโขน คือ วงปี่พาทย์ซึ่งประกอบด้วย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า เครื่องตี และเครื่องประกอบจังหวะวงปี่พาทย์ที่นำมาบรรเลงเรียกว่า “ วงปี่พาทย์ไม้แข็งซึ่งมี 3 ขนาด คือ วงปี่พาทย์เครื่องห้า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ และ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เลือกใช้ตามความเหมาะสมและโอกาสที่แสดง

เครื่องดนตรีประกอบจังหวะที่มีความสำคัญในการแสดงโขนที่ใช้ในกรณีพิเศษ คือ กรับพวง และโกร่ง
  • กรับพวง ใช้ตีประกอบการขับร้องร่ายของผู้ขับร้อง
  • โกร่ง ใช้ตีประกอบจังกวะเพลงกราวนอก -กราวใน เพื่อต้องการจังหวะเร่งเร้า และอึกทึกครึกโครม ตอนยกทัพฝ่ายพลับพลาและลงกา
20.gif
เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยาอาการของโขน
  • เพลงเข้าม่าน ประกอบการเดินเข้าฉากในระยะใกล้ๆ ของหุ่นตัวเอก
  • เพลงเสมอประกอบการไปมาในระยะใกล้ๆ
  • เพลงเชิด ประกอบการไป มาในระยะไกลๆและใช้ในการต่อสู้
  • เพลงตระนิมิตร ประกอบการแปลงกายของตัวหุ่นที่เป็นตัวเอก
  • เพลงชุบ ประกอบการเดินของนางกำนัล เช่น เมื่อนางยี่สูนใช้นางกำนัล ให้ไปตามพราหมณ์ปี่พาทย์ก็จะทำเพลงชุบ
  • เพลงโลม ประกอบการโลมเล้าเกี้ยวพาระหว่างตัวหุ่นที่เป็นตัวเอกมักต่อด้วยเพลงตระนอน
  • เพลงตระนอน ใช้สำหรับหุ่นตัวเอกเมื่อจะเข้านอนโดยมาบรรเลงต่อจากเพลงโลม
  • เพลงโอด ประกอบการเศร้าโศกเสียใจ
  • เพลงโล้ ประกอบการเดินทางทางน้ำ เช่นพระอภัยมณีโดยสารเรือสำเภาหรือเกาะ หลังเงือกว่ายน้ำหนีผีเสื้อ
  • เชิดฉิ่ง ประกอบการเดินทาง การเหาะ เช่นเบญจกายเหาะมายังเขาเหมติรันเพื่อแปลงเป็น สีดาลอยน้ำไปลวงพระราม หรือการติดตาม เช่นพระลอตามไก่ รามสูรตามนางเมขลา
  • เชิดกลอง บรรเลงต่อจากเพลงเชิดฉิ่ง
  • เพลงรัวต่างๆ ประกอบการแผลงอิทธิฤทธิ์หรือแปลงตัวอย่างรวบรัด
  • เพลงกราวนอก ประกอบการยกทัพตรวจพลของกระบวนทัพฝ่ายมนุษย์
  • เพลงกราวใน ประกอบการยกทัพตรวจพลของกระบวนทัพฝ่ายยักษ์

           20.gif

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น