โขน
เป็นศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งของไทย มีประวัติที่เก่าแก่ยาวนานมาก
เชื่อว่ามีความเก่าแก่อย่างน้อยย้อนไปถึงสมัยอยุธยามีการสันนิษฐานว่าเป็นการแสดงที่พัฒนามาจากการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์
กระบี่กระบอง และการแสดงหนังใหญ่ ดังนั้นการแสดงโขนจึงเป็นการรวมศิลปะการแสดงหลายชนิดเข้าด้วยกัน
เป็นการแสดงที่อาศัยท่าเต้นเป็นการแสดงออกทางอารมณ์เป็นสำคัญ
ตัวละครมีทั้งแบบสวมมงกุฎบนศีรษะ และสวมหน้ากาก โดยการแสดงเป็นเรื่องราว
มีทั้งบทเจรจา และบทร้อง
สำหรับเนื้อเรื่องที่นำมาแสดงโขนนั้นเดิมมีทั้งเรื่องอุณรุท และรามเกียรติ์ แต่ในปัจจุบันนิยมเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น
คำว่า “ โขน” ไม่ทราบแน่ชัดว่า มีมาตั้งแต่สมัยใด
ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในลิลิตพระลอ เล่าถึงงานมหรสพในงานพระศพของพระลอและพระเพื่อนพระแพงว่า
“ ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน ” คำว่า “ โขน ” มีกล่าวไว้ในหนังสือของชาวต่างประเทศ
เป็นการกล่าวถึงศิลปะแห่งการเล่นของไทยในรัชสมัยสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราชซึ่งเป็นที่นิยมและยึดถือเป็นแบบแผนกันมานาน
มีข้อสันนิษฐานว่าโขนน่าจะมาจากคำในภาษาต่างๆ
ดังนี้
- โขน ในภาษาเบงกาลี ซึ่งมีคำว่า “ โขละ ” หรือ “ โขล ”ซึ่งเป็นชื่อของเครื่องดนตรีประเภทหนังชนิดหนึ่งของฮินดู
โดยตัวรูปร่างคล้าย มฤทังคะ ( ตะโพน ) ส่วนใหญ่เป็น
เครื่องดนตรีที่พวกไวษณพนิกายในแคว้น แบงกอลนิยมใช้ประกอบการ
เล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ ยาตรา ”
ซึ่งหมายถึง ละครเร่
และหากเครื่องดนตรีชนิดนี้ได้เคยนำเข้ามาในดินแดนไทย แล้วนำมาใช้ประกอบการ
เล่นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง เราจึงเรียกการแสดง ชุดนั้นว่า “ โขล ” ตามชื่อเครื่องดนตรี
- โขน ในภาษาทมิฬ เริ่มจากคำว่า โขล
มีคำเพียงใกล้เคียงกับ “ โกล ”
หรือ “
โกลัม " ในภาษาทมิฬ ซึ่งหมายถึงเพศ
การแต่งตัว หรือการประดับตกแต่งตัวตามลักษณะของเพศ
- โขน ในภาษาอิหร่าน มาจากคำว่า “ ษูรัต ควาน ” (Surat khwan) ซึ่งษูรัตแปลว่า
ตุ๊กตาหรือหุ่น ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ขับร้องแทนตุ๊กตาหรือหุ่นเรียกว่า “ ควาน ” หรือโขน (Khon) ซึ่งคล้ายกับ
ผู้พากย์และผู้เจรจาอย่างโขน
- โขน ในภาษาเขมร ในพจนานุกรมภาษาเขมร มีคำว่า “ ละคร ” แต่เขียนเป็นอักษรว่า “ ละโขน ” ซึ่งหมายถึง
มหรสพอย่างหนึ่งเล่นเรื่องต่างๆ กับมีคำว่า “
โขล ”
อธิบายไว้ในพจนานุกรมเขมรว่า “ โขล ละคอนชาย
เล่นเรื่องรามเกียรติ์”
หากที่มาของโขนมา จากคำในภาษาเบงคาลี ภาษาทมิฬและภาษาอิหร่าน
ก็คงจะมาจากพวกพ่อค้าวาณิช และศาสนาจารย์ของชาวพื้นเมืองประเทศนั้น
ๆ แพร่มาสู่ดินแดนในหมู่เกาะชวา มาลายูและแหลมอินโดจีน
จากข้อสันนิษฐานต่างๆ
ยังมิอาจสรุปได้แน่นอนว่า “ โขน ” เป็นคำมาจากภาษาใด แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้จะพบว่า “ โขน หมายถึง
การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ แต่เล่นเฉพาะในเรื่องรามเกียรติ์
โดยผู้แสดงสวมหัวจำลอง ต่างๆ ที่เรียกว่า หัวโขน ”
หากที่มาของโขนมา จากคำในภาษาเบงคาลี ภาษาทมิฬและภาษาอิหร่าน ก็คงจะมาจากพวกพ่อค้าวาณิช และศาสนาจารย์ของชาวพื้นเมืองประเทศนั้น ๆ แพร่มาสู่ดินแดนในหมู่เกาะชวา มาลายูและแหลมอินโดจีน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น